รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : RTA5880006
ชื่อโครงการ : การใช้ทรัพยากรจุลินทรีย์อย่างยั่งยืน
  Sustainable Utilization of Microbial Resources
หัวหน้าโครงการ : สายสมร ลำยอง : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (9 โครงการ) ]
ทีมวิจัย :
สายสมร ลำยอง
หัวหน้าโครงการ
กีรติ ตันเรือน
นักวิจัยร่วมโครงการ
ขวัญตา แก้วนรินทร์
นักวิจัยร่วมโครงการ
สุธีรา ทองกันทา
นักวิจัยร่วมโครงการ
Olivier Raspe
นักวิจัยร่วมโครงการ
Dau Hung Anh
นักวิจัยร่วมโครงการ
กนกอร ศรีม่วง
นักวิจัยร่วมโครงการ
พัฒนา ค้ากำยาน
นักวิจัยร่วมโครงการ
พงศ์ระวี นิ่มน้อย
นักวิจัยร่วมโครงการ
จักรพงษ์ หรั่งเจริญ
นักวิจัยร่วมโครงการ
นครินทร์ สุวรรณราช
นักวิจัยร่วมโครงการ
นพรัตน์ วรรณเทศ
นักวิจัยร่วมโครงการ
กาญจนา ดำริห์
นักวิจัยร่วมโครงการ
อมรรัตน์ ใจยะเสน
นักวิจัยร่วมโครงการ
วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก
นักวิจัยร่วมโครงการ
วสุ ปฐมอารีย์
นักวิจัยร่วมโครงการ
สมจิตร อยู่เป็นสุข
นักวิจัยร่วมโครงการ
เนตรนภา อินสลุด
นักวิจัยร่วมโครงการ
บุญสม บุษบรรณ์
นักวิจัยร่วมโครงการ
ชาติชาย โขนงนุช
นักวิจัยร่วมโครงการ
จตุรงค์ คำหล้า
นักวิจัยร่วมโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ : 3 ส.ค. 2558
วัตถุประสงค์ : หัวข้อ 1 การใช้ทรัพยากรจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร

หัวข้อย่อย 1.1 PGPM: จุลินทรีย์ผลิต IAA siderophore จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม เป็นปุ๋ยชีวภาพและตัวควบคุม

1. เพื่อใช้จุลชีพกระตุ้นการดูดซึมฟอสฟอรัสในการปลูกข้าว (aerobic rice cultivation) ตรวจสอบความจำเพาะเจาะจงต่อ host ระหว่าง ลักษณะทางพันธุกรรมของข้าวและกลุ่มของจุลินทรีย์ที่กระตุ้นการดูดซึมฟอสฟอรัส และวิเคราะห์การตอบสนองของข้าวต่อการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่กระตุ้นการดูดซึมฟอสฟอรัส2. เพื่อใช้จุลินทรีย์ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตในรูปตรึงเซลล์เป็นปุ๋ยชีวภาพสำหรับการปลูกสลัดใบเขียว และประเมินผลของการตรึงและยึดเซลล์แบคทีเรียต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช

3. เพื่อยับยั้งโรคในระยะการงอกของพืช (Seedling disease) และการกระตุ้นการเจริญเติบโตของข้าวโดย bio-priming

4. เพื่อประยุกต์ใช้ actinobacteria ที่สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชเพื่อช่วยเหลือพืชจากสภาวะการตอบสนองต่อความเครียดของพืช

5. เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและยับยั้งการเกิดโรคในข้าวเหนียวก่ำล้านนา (Khao Kum Lanna) ด้วย จุลินทรีย์ในกลุ่มเอนโดไฟท์ (endophyte)

6. เพื่อใช้เชื้อรากลุ่มเอนโดไฟท์จากเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรและพืชในตระกูลแตง เป็นสารควบคุมทางชีวภาพต่อการเกิดโรคในแคนตาลูปและเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต



หัวข้อย่อย 1.2 สารทุติยภูมิจากจุลินทรีย์และคุณสมบัติในการควบคุมทางชีวภาพ

1. เพื่อคัดกรองสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (การผลิตเอนไซม์ที่หลั่งอออกนอกเซลล์) แลพยายามค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดใหม่จากเชื้อราที่แยกได้

2. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบอย่างละเอียดของสารเมทาบอไลท์ทุติยภูมิจากเชื้อรากลุ่มเอนโดไฟท์: สารระเหย (VOC) และสารไม่ระเหยชีวภาพ (non-VOC) เพื่อการประยุกต์ใช้ในการเกษตร

3. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและโครงสร้างของสารเมทาบอไลท์ทุติยภูมิจากเชื้อราและคุณสมบัติทางการแพทย์

4. เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารโดยกระบวนการทางชีวภาพของสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์และองค์ประกอบทางเคมีอื่นๆของสารสกัดจากพืช Cuscuta sp. โดยการใช้จุลินทรีย์และประเมินฤทธิ์ทางชีวภาพของสาร



หัวข้อ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรม

1. เพื่อเพิ่มจำนวนหัวเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาและจุลินทรีย์ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชสำหรับการผลิตหัวเชื้อในสเกลที่ใหญ่ขึ้นและผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้งาน และประเมินผลของ AMF ไมคอร์ไรซากล้วยไม้ และจุลินทรีย์ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชสำหรับการเจริญเติบโตของพืชเศรษฐกิจและการงอกเพื่อการฟื้นฟูป่าไม้ การงอกและการย้ายปลูกกล้วยไม้

2. เพื่อทำการสำรวจและตรวจพิสูจน์เชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาในภาคเหนือของประเทศไทย ประเมินความสามารถของเชื้อรา ที่คัดเลือกได้โดยวิธี greenhouse synthesis experiment และประยุกต์ใช้เชื้อราที่คัดเลือกได้ในงานด้านการฟื้นฟูป่าไม้

3. เพื่อประเมินความสามารถของการผลิตเอนไซม์ xylanase และ celluloseโดยการหมักบนอาหารแข็งจากกากน้ำตาลและทะลายปาล์ม ประเมินศักยภาพการผลิตเอนไซม์โดยการหมักบนอาหารแข็งในระดับการผลิตที่ใหญ่ขึ้น และทำบริสุทธิ์ เอนไซม์ xylanase และ cellulose โดยการหมักบนอาหารแข็งจากเชื้อ Thermoascus aurantiacus

4. เพื่อติดตามศักยภาพของสายพันธุ์จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกในอาหารหมักพื้นเมืองในการการผลิต กรดแลกติกหรือเอนไซม์ที่สำคัญ

5. เพื่อประเมินศักยภาพของเชื้อรากลุ่ม basidiomycetes ในการหลั่ง Polyhydroxyalkanoates (PHAs) สำหรับการผลิตพลาสติกชีวภาพ และตรวจสอบวิธีการเลี้ยงเชื้อในการผลิต PHAs ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น

6. เพื่อผลิต PHAs จากเชื้อแบคทีเรียโดยใช้เซลลูโลส และการหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์สลาย PLA



หัวข้อ 3 การจัดทำฐานข้อมูลต้นแบบของกลุ่มเห็ดป่าชนิดใหม่บางชนิด และจุลินทรีย์ที่ได้จากการศึกษา

1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของเห็ดป่ากลุ่ม Boletes และ บางส่วนของ puffball ในภาคเหนือของประเทศไทย สร้างและปรับปรุงฐานข้อมูลของสายพันธุ์และการกระจายของสายพันธุ์ของเห็ด เผยแพร่ ภาพถ่าย ภาพวาด คำอธิบาย ในโครงการระยะยาวของ A flora of Boletales of Northern Thailand

2. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์ Marasmius (Basidiomycota) จากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ของประเทศไทย และจัดทำฐานข้อมูลของสายพันธุ์ Marasmius ของประเทศไทย

สถิติการเปิดชม : 1,081 ครั้ง
ดาวน์โหลด : 162 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400