รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : DBG5980012
ชื่อโครงการ : การออกฤทธิ์ทางพยาธิสรีรวิทยาของพิษงูแมวเซา : บทบาทและกลไกขององค์ประกอบในพิษงู ที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
  Pathophysiological actions of Russell’s viper venom: The role and mechanism of its fractional components-induced acute renal failure
หัวหน้าโครงการ : ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (4 โครงการ) ]
ทีมวิจัย :
ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร
หัวหน้าโครงการ
นฤมล พักมณี
นักวิจัยร่วมโครงการ
วิชิต ทวีกาญจน์
นักวิจัยร่วมโครงการ
สุนุชชา สุนทรารชุน
นักวิจัยร่วมโครงการ
อรวรรณ แซ่โค้ว
นักวิจัยร่วมโครงการ
ทักษะ เวสารัชชพงษ์
นักวิจัยร่วมโครงการ
กัญณัฏฐ์ พรหมรุ่งเรือง
นักวิจัยร่วมโครงการ
ลาวัณย์ จันทร์โฮม
นักวิจัยร่วมโครงการ
จุรีพร น้อยพรหม
นักวิจัยร่วมโครงการ
สุจิตรตรา ขุนทรัพย์
นักวิจัยร่วมโครงการ
ปณิธิ ละอองบัว
นักวิจัยร่วมโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ : 14 ก.ย. 2559
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาองค์ความรู้ใหม่โดยเจาะจงเกี่ยวกับบทบาทของพิษงูและส่วนประกอบของพิษงูแมวเซาต่อพยาธิสรีรวิทยาของไต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน การตอบสนองทางพยาธิสรีรวิทยาและกลไกของการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันเกี่ยวข้องกับทั้งปัจจัยภายในและภายนอกของไต การศึกษานี้เพื่อประเมินผลกระทบของพิษงูและเอนไซม์ในพิษงู ได้แก่ Phospholipase A2, Metalloprotease, Phosphodiesterase และ L-amino acid oxidase ทั้งใน in vivo และใน in vitro โดยใช้กระต่ายและไตที่แยกจากกายกระต่ายเป็นแบบในการศึกษา โดยมุ่งหวัง

1. เพื่อศึกษาผลของพิษงูแมวเซาและองค์ประกอบของพิษงูต่อไตที่แยกจากกายกระต่าย : บทบาทของ Platelet activating factors

2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโปรติโอมิกของพิษงูแมวเซาที่มาจากงูวัยเด็กและตัวเต็มวัย

3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของพิษที่ได้จากงูแมวเซาวัยเด็กและตัวเต็มวัยต่อการทำงานของไตในกระต่าย

4. เพื่อศึกษาการหลั่ง pro-inflammatory และ anti-inflammatory cytokines ในปัสสาวะและพลาสมาจากระต่ายที่ถูกฉีดด้วยพิษงูแมวเซาและองค์ประกอบของพิษงูแมวเซา

5. เพื่อศึกษาผลของไตต่อความสัมพันธ์ของ oxidative stress ในพลาสม่าและเนื้อเยื่อไตภายหลังได้รับพิษงูแมวเซาและองค์ประกอบของพิษงูแมวเซา

6. เพื่อศึกษากระบวนการเกิด apoptosis ที่เกี่ยวข้องกับ Bcl-2 family และ transforming growth factor b1 signal proteins ในไตกระต่ายที่ถูกฉีดด้วยพิษงูแมวเซาและองค์ประกอบของพิษงูแมวเซา

7. เพื่อศึกษาผลขององค์ประกอบต่างๆ ในพิษงูแมวเซา ได้แก่ Phospholipase A2, Metalloprotease, Phosphodiesterase และ L-amino acid oxidase ต่อไต : บทบาทของ Ca++, Na++ และ K+ channel blocker

สถิติการเปิดชม : 226 ครั้ง
ดาวน์โหลด : 7 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400