รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : TRP62A0108
ชื่อโครงการ : การวางแผนกลยุทธ์ในการนำนโยบายการพัฒนาตามแนวทางเมืองอัจฉริยะไปสู่การปฏิบัติ: การถอดบทเรียน การประเมิน การตรวจสอบความตรง และการพัฒนาข้อเสนอแนะ
  Strategic Planning for Implementing Thailand’s National Smart City Program me: Documentation, Evaluation, Validation, and Recommendations
หัวหน้าโครงการ : ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ
ทีมวิจัย :
วันที่เริ่มโครงการ : 1 ก.ย. 2562
วัตถุประสงค์ : 1 เพื่อศึกษาจุดกำเนิดและพัฒนาการของนโยบายเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย แรงผลักดันที่เกิดขึ้นจากภายนอกประเทศอันเป็นการเคลื่อนไหวในระดับนานาชาติ และระดับชาติที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดนโยบายดังกล่าวนี้ในประเทศไทย การดำเนินงานพัฒนาเมืองอัจฉริยะของต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองอัจฉริยะของโลก รวมทั้งศึกษาการจัดลำดับของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

2เพื่อศึกษาถึงการแปลงนโยบายเมืองอัจฉริยะไปสู่การปฏิบัติของจังหวัดขอนแก่น ภายใต้ชื่อที่เรียกกันว่า “ขอนแก่นโมเดล” รวมทั้งการศึกษาถึงจุดกำเนิด พัฒนาการ ระบบและกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นขอนแก่นเมืองอัจฉริยะ รวมทั้งปัจจัยหลักของความสำเร็จ

3 เพื่อศึกษาถึงกระบวนการในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติของประเทศไทย ซึ่งแยกเป็น 2 กลุ่มจังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่นที่มีกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเกิดขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ซึ่งได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ชุมชน หรือประชาสังคม สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้ระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และอีก 2 จังหวัด ที่เป็นจังหวัดที่ได้มีจังหวัดบริษัทพัฒนาเมือง อันได้แก่ 1) บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด 2) บริษัท เชียงใหม่พัฒนา จำกัด รัฐบาลประกาศที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองอัจฉริยะและบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเป็นบริษัทที่ได้มีการจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมือง

4 เพื่อเปรียบเทียบการนำนโยบายการพัฒนาตามแนวทางเมืองอัจฉริยะไปปฏิบัติของ 3 เมือง อันได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ และภูเก็ต ในประเด็นดังต่อไปนี้

4.1 เป้าหมายที่ต้องการบรรลุและ Road Map ของแต่ละเมือง

4.2 ประเมินความครอบคลุมหรือความความสัมพันธ์เชิงระบบในการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ (smart city framework) ทั้ง 6 องค์ประกอบ ที่กล่าวมาแล้ว อันได้แก่ เศรษฐกิจอัจฉริยะ (smart economy) คนอัจฉริยะ (smart people) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (smart environment) ระบบการขนส่งและการเดินทางอัจฉริยะ (smart mobility) การใช้ชีวิตอย่างอัจฉริยะ (smart living) และระบบการจัดการปกครองแบบอัจฉริยะ (smart governance)

4.3 ศักยภาพและการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติของแต่ละเมือง

4.4 แหล่งงบประมาณสนับสนุนหรือการเคารพในพันธสัญญาที่มีต่อตัวนโยบาย

4.5 การมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ตามตัวแบบ Quintuple Helix Model

4.6 ความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดที่จะสร้างขึ้น

4.7 นวัตกรรมทางสังคมที่แต่ละเมืองใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนา

สถิติการเปิดชม : 214 ครั้ง
ดาวน์โหลด : 9 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400