รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : MRG5480198
ชื่อโครงการ : การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการเผาไหม้สำหรับการประยุกต์ใช้สเปรย์ในเครื่องยนต์โดยใช้แบบจำลองสเปรย์ของโมเมนต์ของจำนวนละอองสเปรย์ขนาดต่างกัน
  Development of Combustion Models for Spray Applications in Engines Based on the Drop Number Size Moment Modelling Sprays
หัวหน้าโครงการ : อิศเรศ ธุชกัลยา : [งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2 โครงการ) ]
ทีมวิจัย :
อิศเรศ ธุชกัลยา
หัวหน้าโครงการ
ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
นักวิจัยที่ปรึกษา
วันที่เริ่มโครงการ : 15 มิ.ย. 2554
วัตถุประสงค์ : ในกระบวนการเผาไหม้แบบสเปร์ย อัตราการเผาไหม้ของสเปร์ยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ๆ คือ กลไกจลนศาสตร์ทางเคมีและความปั่นป่วนที่ซับซ้อนของก็าซเชื้อเพลิง โดยที่กลไกจลนศาสตร์ทางเคมีที่มีความละเอียดแม่นยำสูงซึ่งจะใช้ปฏิกิริยาเคมีและ species ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นั้นค่อนข้างมีขีดจำกัดสูง สำหรับการนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องยนต์เชื้อเพลิงที่มีค่าไฮโดรคาร์บอนสูง อย่างเช่น ดีเซล นอกจากนี้ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างความปั่นป่วนและเคมีของก็าซเชื้อเพลิงนั้นยากที่จะสร้างและสามารถทำนายได้ใกล้เคียง โดยวิธีที่มีศักยภาพมากที่สุดคือการใช้แบบจำลอง probability density function (PDF) transport equation เพราะ source term ของปฏิกิริยาเคมีของแต่ละ species สามารถอนุพันธ์ได้โดยตรงจากทฤษฎีทางจลนศาสตร์ทางเคมีโดยปราศจากการจำลองใด ๆ ทั้งสิ้น และสามารถทำนาย source term ของปฏิกิริยาได้ค่อนข้างสมบูรณ์เช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติ มันเป็นการยากมากที่จะสมมุติรูปร่างของ PDF ร่วม ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวแปรมากกว่าสองตัวแปร และความซับซ้อนของปัญหายิ่งทวีมากขึ้นเมื่อจำนวนตัวแปรของ species ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น ดังนั้นวิธีการนี้จึงสามารถประสบความสำเร็จได้กับเชื้อเพลิงที่มีค่าไฮโดรคาร์บอนต่ำๆ เท่านั้นโดยใช้ Monte-Carlo ในการแก้ปัญหา [3, 4] ซึ่งหลักการดังที่ได้กล่าวมานั้น ใช้เวลาในการคำนวณสิ้นเปลืองสูงมากและเป็นไปได้ยากสำหรับการนำมาประยุกต์ใช้กับการจำลองการเผาไหม้ของสเปร์ยในเครื่องยนต์สันดาปใน ในปัจจุบัน เช่น ดีเซล โดยงานวิจัยในกลุ่มนี้ จะต้องใช้ทุนวิจัยที่สูงมากและการพัฒนาจะถูกจำกัดในวงแคบ ๆ เฉพาะห้องวิจัยที่มีชื่อเสียง เช่น California Institute of Technology, Stanford University, Imperial College, Chalmers University of Technology เป็นต้น

ดังนั้นในงานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการเผาไหม้ของสเปร์ยสำหรับประยุกต์ใช้ในเครื่องยนต์ดีเซล โดยแบบจำลองจะเริ่มพัฒนาจากแบบจำลองสเปร์ยของ Beck [5] ซึ่งสามารถทำนายการกระจายตัวของสเปร์ยได้ค่อนข้างถูกต้องแม่นยำ ดังปรากฏในงานตีพิมพ์จำนวนมาก [6-11] ส่วนแบบจำลองของการจุดระเบิดเองและการเผาไหม้จะถูกพัฒนาขึ้นมา โดยแบบจำลองนี้จะต้องสามารถทำนายปรากฏการณ์การเผาไหม้ที่เกิดขึ้นในเครื่องยนต์ได้อย่างแม่นยำใกล้เคียงกับผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากห้องวิจัยที่มีชื่อเสียง แต่จะต้องใช้เวลาในการคำนวณและทุนวิจัยที่น้อยกว่าอย่างชัดเจน เพื่อที่แบบจำลองนี้จะสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบและปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์ดีเซลได้จริงในอุตสาหกรรมยานยนต์หรืออุปกรณ์ทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นมานี้จะถูกใช้ในการทำนายหลัก ๆ ได้แก่

2.1 การจุดระเบิดเอง (Autoignition) ซึ่งจะคำนึงถึงระยะเวลาหน่วงการจุดระเบิด ตำแหน่งที่เกิดการจุดระเบิดเอง โดยผลการทำนายที่ได้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับผลการทดลองและแบบจำลองอื่น ๆ

2.2 การเคลื่อนที่ของเปลว (Flame propagation) ซึ่งจะคำนึงถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเผาไหม้ อัตราการเผาไหม้ รวมถึงลักษณะของเปลวที่เคลื่อนที่ไป โดยผลการทำนายที่ได้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับผลการทดลองและแบบจำลองอื่น ๆ

สถิติการเปิดชม : 638 ครั้ง
ดาวน์โหลด : 73 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400