รายละเอียดโครงการวิจัย
รหัสโครงการ : RTA4880010
ชื่อโครงการ : สันติวิธี,ความรุนแรง และสังคมไทย
  Nonviolence, Violence and Thai Society
หัวหน้าโครงการ : ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
ทีมวิจัย :
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
หัวหน้าโครงการ
พวงทอง รุ่งสวัสดิทรัพย์
นักวิจัยร่วมโครงการ
สุรกิจ ปัญจวีณิน
นักวิจัยร่วมโครงการ
โซรยา จามจุรี
นักวิจัยร่วมโครงการ
ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์
นักวิจัยร่วมโครงการ
พินิตพันธ์ บริพัตร
นักวิจัยร่วมโครงการ
ธงชัย วินิจจะกูล
นักวิจัยร่วมโครงการ
ธัญญรัตน์ -
นักวิจัยร่วมโครงการ
พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์
นักวิจัยร่วมโครงการ
ประจักษ์ ก้องกีรติ
นักวิจัยร่วมโครงการ
พิมลพรรณ อุโฆษกิจ
นักวิจัยร่วมโครงการ
ซากี พิทักษ์คุมผล
นักวิจัยร่วมโครงการ
แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง
นักวิจัยร่วมโครงการ
เดชา ตั้งสีฟ้า
นักวิจัยร่วมโครงการ
รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช
นักวิจัยร่วมโครงการ
ชิดชนก ราฮิมมูลา
นักวิจัยร่วมโครงการ
อิมติยาส ยูซุฟ
นักวิจัยร่วมโครงการ
แมทธิว วีลเลอร์
นักวิจัยร่วมโครงการ
ศรีชัย พรประชาธรรม
นักวิจัยร่วมโครงการ
อุษณีย์ ธโนศวรรย์
นักวิจัยร่วมโครงการ
พรใจ ลี่ทองอิน
นักวิจัยร่วมโครงการ
มารค ตามไท
นักวิจัยร่วมโครงการ
รัตติยา สาและ
นักวิจัยร่วมโครงการ
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์
นักวิจัยร่วมโครงการ
วัฒนา สุกัณศีล
นักวิจัยร่วมโครงการ
สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ
นักวิจัยร่วมโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ : 30 ส.ค. 2548
วัตถุประสงค์ : 1) การทำงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อหาหนทางยุติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะนี้ รัฐบาลไทยได้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ เพื่อหาหนทางสถาปนาความสงบสุขที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะกรรมการนี้มุ่งทำงานนำเสนอหนทางแก้ปัญหาความรุนแรงบนพื้นฐานวิชาการ ในฐานะ commissioner คนหนึ่งของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการด้านวิจัย (research director) และได้กำหนดแนวทางการทำวิจัยในกรอบของคณะกรรมการสมานฉันท์ไว้บ้างแล้ว งานวิจัยในโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว.ในปีแรกจึงจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อทำความเข้าใจและหาหนทางยุติความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

2) การทำงานวิจัยเชิงวิชาการเพื่อทำความเข้าใจปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย เมื่อสิบปีก่อน ข้าพเจ้าเคยนำคณะนักวิจัยทำงานศึกษาปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยมาครั้งหนึ่งแล้วในวาระครบรอบ 20 ปี เหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ผลการศึกษาครั้งนั้นปรากฏอยู่ใน รัฐศาสตร์สาร (ฉบับความรุนแรงกับสังคมไทย) ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 (2539) ขณะนี้ปัญหาความรุนแรงได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่ใช่น้อย ทั้งองค์ความรู้ทางทฤษฎีและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย (โปรดพิจารณา ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, "ทั้งเป็น'เหยื่อ' และ 'ฆาตกร'?: สู่ทฤษฎีทั่วไปว่าด้วยความรุนแรงในสังคมไทย," ใน อาวุธมีชีวิต? (กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2546), หน้า 77-110) โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว.ในปีที่สองจึงจะเป็นการศึกษาวิจัยปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยเสียใหม่ เพื่ออาศัยงานวิจัยทำความเข้าใจสังคมไทยที่เคยสามารถแสดงความโหดร้ายรุนแรงเช่นที่เคยปรากฏขึ้นกลางเมืองเมื่อสามทศวรรษที่แล้ว



3) การทำงานวิจัยเชิงทฤษฎีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับการศึกษาสันติวิธี(nonviolence) อันที่จริง ไม่ว่าจะทำงานวิจัยเชิงนโยบายตรงๆหรือไม่ งานที่ข้าพเจ้าทำต่อเนื่องตลอดมาคือ การทำงานวิจัยเชิงทฤษฎีทั้งเพื่อเข้าใจปัญหาความรุนแรง และ สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับการศึกษาสันติวิธี ขณะนี้การศึกษาวิจัยที่ค้างอยู่และจะมีส่วนหนึ่งเป็นงานที่ทำในโครงการเมธีวิจัย สกว. คือ งานวิจัยบุกเบิกศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาอิสลามและสันติวิธี งานศึกษาวิจัยเชิงทฤษฎีที่ทำต่อเนื่องมาเกือบยี่สิบปีนี้ กำลังจะตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Nonviolence and the Islamic Imperatives โดย University Press of America ซี่งได้ลงนามในสัญญาจัดพิมพ์ไว้แล้ว ยังขาดการทำงานศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงบทสำคัญอีกสองบทในหนังสือนี้ คือ บทแรกเป็นการสำรวจองค์ความรู้ในเรื่อง อิสลามกับสันติวิธี และ บทที่ศึกษาวิจัยปัญหาที่ชาวมุสลิมบางส่วนไม่เห็นด้วยกับแนวทางสันติวิธี งานเขียนทั้งสองชิ้นนี้น่าจะเสร็จลงในปีแรกของ โครงการเมธีวิจัย สกว. งานศึกษาวิจัยอีกส่วนหนึ่งที่จะทำในปีที่สามของโครงการเมธีวิจัย สกว.คือ งานศึกษาวิจัยเชิงทฤษฎีเรื่อง "รัฐกับสันติวิธี" อันเป็นหัวข้อวิจัยที่เข้าใจว่ายังไม่มีผู้ใดเคยทดลองทำมาก่อน เพราะปัญหาความขัดกันทางทฤษฎีระหว่าง มโนทัศน์ (concept) เรื่องรัฐและสันติวิธีนั้นเอง (โปรดพิจารณาปัญหานี้ใน Chaiwat Satha-Anand, " Teaching Nonviolence to the States," in Majid Tehranian (ed.) Asian Peace: Security and Governance in the Asia Pacific Region. (London and New York: I.B.Tauris Publishers, 1999)

สถิติการเปิดชม : 1,349 ครั้ง
ดาวน์โหลด : 482 ครั้้ง
  แจ้งปัญหาการดาวน์โหลดที่นี่
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)
รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
บทคัดย่อ (Abstract) :
แสดงบทคัดย่อ


เลือกดาวน์โหลดแบบลิงค์
:
 

Telephone

02 278 8200

Address

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400